ช่วงก่อนก่อตั้งหน่วย |
ก่อนที่จะมีการตั้งหน่วยประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อย่างเป็นทางการ ได้มีการรักษาผู้ป่วยทางระบบประสาทศัลยศาสตร์ มาก่อนแล้ว ได้แก่ในปี พุทธศักราช 2490 ศาสตราจารย์นายแพทย์ อุดม โปษกฤษณะ เดินทางกลับจากประเทศ เยอรมันนี ทำการรักษาผู้ป่วยทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ที่โรงพยาบาลศิริราช และถือได้ว่าเป็นประสาทศัลยแพทย์ท่านแรกของประเทศไทย ในเวลาไล่เลี่ยกัน ศาสตรจารย์นายแพทย์ สมาน มันตราภรณ์ ได้เดินทางกลับจากการศึกษาที่ประเทศอังกฤษและทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หลังจากนั้นได้มีประสาทศัลยแพทย์ต่างชาติหมุนเวียนมาเป็นบางช่วง ได้แก่ Sydney Goldring จากประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงปีพุทธศักราช 2494 –2495 โดยมี ศาสตราจารย์นายแพทย์จตุรพร หงสประภาส
และนายแพทย์ประพันธ์ วนาศุภเป็นผู้ช่วยในช่วงดังกล่าว, Sir Douglas Miller และ Mr. Geoffrey Vanderfield จากประเทศ ออสเตรเลียในช่วงปีพุทธศักราช 2502
|
ช่วงก่อตั้งหน่วย |
ในปีพุทธศักราช 2505 ศาสตราจารย์นายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลาซึ่งได้รับทุนอานันทมหิดลไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรํฐอเมริกาได้สำเร็จการศึกษาและกลับมาทำงานที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และหน่วยประสาทศัลยศาสตร์ก็ได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปีเดียวกันนั้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ที่ตึกธนาคารกรุงเทพและยังใช้อยู่มาจนถึงปัจจุบัน
ในปีพุทธศักราช 2506 ศาสตราจารย์นายแพทย์จตุรพร หงสประภาสซึ่งได้รับทุน Colomboไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลียก็สำเร็จการศึกษาและกลับมาเป็นประสาทศัลยแพทย์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ในยุคเริ่มแรกนายแพทย์ เสรี ร่วมสุขได้เข้าเป็นแพทย์ฝึกหัดในสาขาประสาทศัลยศาสตร์ ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในช่วงก่อนที่จะมีการเปิดการอบรมแพทย์เฉพาะทางอย่างเป็นทางการในปีพุทธศักราช 2511
นายแพทย์ประพันธ์ วนาศุภสำเร็จการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกาและมาทำงานในหน่วยอยู่เป็นเวลา 2 ปี
ในปีพุทธศักราช 2513 ศาสตราจารย์นายแพทย์จเร ผลประเสริฐได้สำเร็จการศึกษาจาก university of Miami ประเทศสหรัฐอเมริกาและเข้าทำงานในหน่วยและดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยต่อจากศาสตราจารย์นายแพทย์จตุรพร หงสประภาส ในเวลาต่อมา
|
ช่วงเติบโต |
มีคณาจารย์เข้ามารร่วมงานเพิ่มเป็นลำดับได้แก่
นายแพทย์ เสรี ร่วมสุขซึ่งได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Chicago และกลับมาทำงานด้านแพทยศาสตร์ศึกษาในเวลาต่อมา
นายแพทย์ประชา ปรีชายุทธสำเร็จการศึกษาจากออสเตรเลีย
นายแพทย์สุพัฒน์ โอเจริญสำเร็จการศึกษสาขาประสาทศัลยศาสตร์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และนับเป็นผู้ได้รับวุฒิบัตรเฉพาะทางประสาทศัลยศาสตร์เป็นคนแรกของประเทศไทยหลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อยังมลรัฐ Boston ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยต่อจากอาจารย์จเร ผลประเสริฐในเวลาต่อมา
อาจารย์สุรชัย เคารพธรรม หลังสำเร็จการศึกษาสาขาประสาทศัลยศาสตร์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ไปศึกษาต่อที่ เมือง Sydney ประเทศออสเตรเลีย และ ที่ Ontario ประเทศแคนาดา ส่วนอาจารย์ช่อเพียว เตโชฬาร หลังสำเร็จการศึกษาสาขาประสาทศัลยศาสตร์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก็ได้/ไปศึกษาต่อที่ Toronto ประเทศแคนาดา
|
คณาจารย์ใหม่ |
ปี พ.ศ. 2540 นายแพทย์รุ่งศักดิ์ ศิวานุวัฒน์ และ นายแพทย์พีรพงษ์ มนตรีวิวัฒนชัยได้รับการบรรจุเข้าเป็นอาจารย์ และในปี พ.ศ.2541 นายแพทย์ไกรศรี จันทราก็ได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์
ปี พ.ศ. 2544 ได้บรรจุนายแพทย์กฤษณพันธ์ บุณยะรัตเวช ในช่วงตั้งแต่ ปี 2540 เป็นต้นมาทางหน่วยได้มีการเติบโตในแง่ของจำนวนคณาจารย์อย่างมาก มีส่วนทำให้การบริการของหน่วยขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงดังกล่าวด้วย และเนื่องจากวิทยาการมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วจึงได้มีการส่งเสริมอาจารย์แต่ละคนให้มีความชำนาญเฉพาะทางโดยอาจารย์พีรพงษ์ มนตรีวิวัฒนชัย ได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อที่ Temple university มลรัฐ Pensylvania ประเทศสหรัฐอเมริกาทางด้านโรคชองกระดูกสันหลัง อาจารย์รุ่งศักดิ์ ศิวานุวัฒน์ และอาจารย์ไกรศรี จันทรา ซึ่งมีความสนใจในด้าน skullbase tumor และ neurovascular diseases โดยอาจารย์ทั้งสองท่านได้รับทุนไปศึกษาต่อยัง Barrow Neurological Institute (BNI) มลรัฐอริโซน่าที่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและ International Neuroscience Institute (INI) ที่เมือง hannover ประเทศเยอรมันในช่วงปี พ.ศ. 2546-2548 และต่อมาในปี พ.ศ. 2547 นายแพทย์กฤษณพันธ์ซึ่งมีความสนใจทางด้านโรคลมชัก และ functional neurosurgery ก็ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ University of Washington มลรัฐ Washington, Baylor colleage of medicine มลรัฐ Texas, Johns Hopkins university มลรัฐ Maryland และ Barrow Neurological Institute (BNI) มลรัฐอริโซน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2547 นายแพทย์ธีรเดช ศรีกิจวิไลกุลได้ถูกยืมตัวจากโรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต มาช่วยราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีความชำนาญสาขาโรคลมชักและการผ่าตัดความเคลื่อนไหวผิดปกติ ปี พ.ศ. 2548 บรรจุแพทย์หญิงจิระพร อมรฟ้าซึ่งมีความสนใจทางด้าน pediatric neurosurgery และได้รับทุนไปศึกษาต่อในประเทศ แคนาดา ปี พ.ศ. 2550 บรรจุนายแพทย์ปกฤษณ์ จิตติภิรมย์ศักดิ์ ซึ่งมีความสนใจทางด้าน neurovascular surgery โดยได้รับการฝึกอบรมทางด้าน intervention neuroradiology กับอาจารย์นพ. จาตุรนต์ ตันติวัตนะ และได้รับทุนไปศึกษาต่อทางด้านนี้ ที่ Barrow Neurological Institute (BNI) มลรัฐอริโซน่าที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Beaujon Hospital เมือง Clichy ประเทศฝรั่งเศส
|
การอบรมแพทย์ประจำบ้าน |
ในช่วง 25 ปีหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านคือในปี สมาคมคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบของสมาคมประสาทศัลยศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้มีการขยายระยะเวลาการฝึกหัดจากเดิม 3 ปีเป็น 5 ปีเพื่อเพิ่มศักยภาพของแพทย์ประจำบ้านให้สให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาที่เพิ่มขึ้น โดยได้เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ส่วนในด้านของกิจกรรมทางการศึกษา
ได้มีการจัดกิจกรรมการศึกษาสำหรับแพทย์ประจำบ้านเพิ่มขึ้นได้แก่การ ทำ journal club, topic review, Vascular conference, morbidity/mortality conference, Neuroradiology conference นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ทางอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบได้จัดทำขึ้นเพิอเป็นการปูพื้นฐานให้กับ แพทย์ประจำบ้านประสาทศัลยแพทย์ทั่วประเทศได้แก่ Neuroscience Intraining Course, การสนับสนุนให้แพทย์ประจำบ้านเข้าร่วามการประชุมวิชาการของสมาคม/วิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย นอกจากนี้
เนื่องจากความพร้อมทางด้าน soft cadaver ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์หน่วยฯจึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการทางประสาทศัลยศาสตร์ มาอย่างต่อเนื่องปีละ 1-2 ครั้ง อาธิเช่น skullbase workshop, Cranial workshop, General spine workshop, Minimally invasive spine workshop เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านและประสาทศัลยแพทย์ผู้สนใจได้มีโอกาสหัตถการต่างๆ
นับจนถึงปีการศึกษา 2554 มีแพทย์ประจำบ้านสำเร็จการศึกษาไปจำนวน 82 คน
|